ปัญ‌ญา‌จารย์-1

(ฉบับมาตรฐาน 2011)

切换到福音影视网-新版圣经

  • 1 การใคร่ครวญของปัญญาจารย์ ถ้อยคำของปัญญาจารย์ ผู้เป็นเชื้อสายของดาวิด กษัตริย์ในเยรูซาเล็ม
  • 2 ปัญญาจารย์กล่าวว่าอนิจจัง อนิจจังคำนี้ในภาษาฮีบรูมีความหมายไม่ชัดเจน มีความหมายกว้างมาก ได้แก่ ความไร้ความหมาย ความทุกข์ สิ่งที่ไม่สามารถควบคุมได้อนิจจัง อนิจจัง สารพัดอนิจจัง
  • 3 มนุษย์ได้ประโยชน์แปลได้อีกว่า กำไรอะไรจากการตรากตรำทุกอย่างของเขาซึ่งเขาตรากตรำภายใต้ดวงอาทิตย์นั้น
  • 4 คนรุ่นหนึ่งจากไป และคนอีกรุ่นหนึ่งก็มาแต่แผ่นดินโลกยังคงเดิมอยู่เป็นนิตย์
  • 5 ดวงอาทิตย์ขึ้น และดวงอาทิตย์ตกแล้วกระหืดกระหอบแปลได้อีกว่า รีบเร่งไปถึงที่ซึ่งขึ้นมานั้นอีก
  • 6 ลมพัดไปทางใต้แล้วเวียนกลับไปทางเหนือลมพัดเวียนไปเวียนมาแล้วลมพัดกลับตามทางเวียนของมัน
  • 7 แม่น้ำทุกสายไหลไปสู่ทะเลแต่ทะเลก็ไม่เต็มแม่น้ำไหลไปสู่ที่ใดก็ไหลไปสู่ที่นั่นอีก
  • 8 สารพัดก็เหนื่อยอ่อนไปกันหมดแต่ละคนก็พูดไม่ออกนัยน์ตาดูก็ไม่อิ่มหรือหูฟังเท่าไรไม่เคยพอใจกับสิ่งที่ได้ยิน
  • 9 สิ่งใดที่มีอยู่แล้ว ก็จะมีขึ้นอีกสิ่งที่ทำกันแล้ว คือสิ่งที่จะต้องทำกันอีกไม่มีสิ่งใดใหม่ภายใต้ดวงอาทิตย์
  • 10 มีสักสิ่งหนึ่งหรือที่ใครจะพูดได้ว่า“ดูซี สิ่งนี้ใหม่”?แต่สิ่งนั้นมีอยู่แล้วในสมัยก่อนเราทั้งหลาย
  • 11 ไม่มีการจดจำถึงคนสมัยก่อนและไม่มีการจดจำถึงคนสมัยหลังที่จะเกิดมาโดยคนรุ่นต่อมา
  • 12 ความอนิจจังของการแสวงหาปัญญา ข้าพเจ้า ปัญญาจารย์ เคยเป็นกษัตริย์เหนืออิสราเอลในกรุงเยรูซาเล็ม
  • 13 และด้วยสติปัญญา ข้าพเจ้าตั้งใจค้นคว้าและตรวจสอบทุกสิ่งที่ทำกันภายใต้ฟ้าสวรรค์ และพบว่าพระเจ้าประทานภารกิจที่ยากลำบากให้มนุษย์ทำ เพื่อพวกเขาจะสาละวนกับสิ่งที่ทำ
  • 14 ข้าพเจ้าเคยเห็นการงานทั้งปวงซึ่งเขากระทำกันภายใต้ดวงอาทิตย์ และดูเถิด สารพัดก็อนิจจังคือกินลมกินแล้ง
  • 15 อะไรที่คดจะทำให้ตรงไม่ได้และอะไรที่ขาดอยู่จะนับให้ครบไม่ได้
  • 16 ข้าพเจ้ารำพึงว่า “ดูซิ ข้าพเจ้ามีสติปัญญามากยิ่ง มากกว่าทุกคนที่ครองอยู่เหนือกรุงเยรูซาเล็มก่อนข้าพเจ้า และข้าพเจ้าเจนจัดในสติปัญญาและความรู้อย่างยิ่ง”1 พกษ.4:29-31
  • 17 ข้าพเจ้าก็ตั้งใจเข้าใจสติปัญญา เข้าใจความบ้าบอและความเขลา ข้าพเจ้าค้นพบว่าเรื่องนี้ก็เป็นแต่กินลมกินแล้งด้วย
  • 18 เพราะเมื่อมีสติปัญญามากขึ้น ก็มีความทุกข์ระทมมากขึ้นและบุคคลที่เพิ่มความรู้ก็เพิ่มความเศร้าโศก
回到本卷目录 回到本版本目录 回到首页